Vitamin K1 injection กินได้รึเปล่า?

ที่โรงพยาบาลไม่มี Vitamin K ชนิดรับประทาน สามารถนำ Vitamin K1 injection มาใช้แทนได้หรือไม่ เป็นคำถามที่ต้องหาคำตอบ และคำตอบที่ได้เป็นอย่างไร....


จากคำถามที่ต้องหาคำตอบ ทำให้เราเจอกับกระทู้หนึ่งที่มีเภสัชกรท่านหนึ่งถามไว้ในกระดานถามตอบของ website คณะเภสัชกรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร (http://drug.pharmacy.psu.ac.th/Question.asp?ID=11614&gid=7)  คำตอบที่ได้คือ เราสามารถนำ Vitamin K แบบฉีดให้ทานได้
 
คำถาม : ที่ร.พ.ไม่มี Vitamin K1ชนิดกิน มีแต่ฉีด 1mg/0.5ml และ 10mg/ml เคยได้ยินว่าให้หัก amp ยาแล้วผสมน้ำให้ pt.กินแทนได้จริงหรือเปล่าครับ และประสิทธิภาพต่างกันหรือไม่


คำตอบ : สามารถใช้วิตามินเค แบบฉีด ให้ผู้ป่วยกินแทนได้ครับ
 
ข้อมูลด้าน Stability พบว่า VitaminK1 injection จะคงตัวต่อความร้อน ความชื้น และสามารถ autoclaved ได้ แต่ยาจะไวต่อแสง มี pH เท่ากับ 5-7(1) ซึ่ง VitaminK1 ชนิดฉีด ที่ยังไม่ได้ diluted สามารถให้กินได้ (2) เนื่องจากตัวยามีความเป็นกรดอ่อน จึงไม่ถูกทำลายโดยกรดในกระเพาะอาหาร ทำให้สามารถดูดซึมได้ ข้อมูลด้านขนาดยาที่ใช้ในข้อบ่งใช้ของ Acquired hypoprothrombinemia หรือ Drug action reversal, Anticoagulant สำหรับผู้ใหญ่ จะให้ในขนาดเดียวกันทั้งในรูปแบบยาฉีด หรือ ยากิน คือ 2.5-25 mg กรณีให้แบบฉีด ถ้า prothrombin time ยังไม่เป็นที่น่าพอใจภายใน 12 – 48 ชั่วโมง ควรจะให้ซ้ำ ส่วนกรณีให้แบบกิน ควรจะให้ซ้ำ ถ้า prothrombin time ยังไม่เป็นที่น่าพอใจภายใน 6-8 ชั่วโมง (2) ขนาดที่ให้ในเด็ก ใช้ในกรณีป้องกัน Hemorrhage of newborn แบบฉีด ให้ 1 mg SC, IM, IV หลังคลอด แบบกินให้ 1-2 mg แรกคลอด, ที่อายุ 1-2 week และ อายุ 4 week แนะนำโดย American Academy of Pediatrics(2)

จากข้อมูลข้างต้น สรุปได้ว่าสามารถนำยาฉีดมาให้เป็นยากินได้ โดยมีคำแนะนำว่าไม่ควรจะเจือจาง และให้ในขนาดที่เทียบเท่ากันได้ดังเช่น ในการศึกษา multicenter, randomized, open-label, controlled trial ศึกษาในผู้ป่วยที่ได้รับ warfarin ที่ไม่มีอาการ มี INR อยู่ในช่วง 4.5-10 การศึกษาสุ่มให้ผู้ป่วยได้รับ Vitamin K 1 mg ในรูปแบบกิน (26 คน) และ ฉีด SC (25 คน) primary outcome คือ INR อยู่ในช่วง Therapeutics INR ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วย 15/26 คน (58%) ที่ได้รับยาแบบกิน และ 6/25 คน (24%) ที่ได้รับยาแบบฉีด SC มี INR อยู่ใน Therapeutics INR (1.8-3.2) (odds ratio 4.32 (ผู้ป่วยที่ได้รับยากินจะมี INR อยู่ในช่วง 1.8-3.2 มากกว่าผู้ป่วยที่ได้รับยาฉีด 4.32 เท่า) [95% CI, 1.13 to 17.44]; P = 0.015) จากการศึกษานี้สรุปได้ว่า oral vitamin K สามารถลด INR ได้เร็วกว่า SC ในผู้ป่วยที่ไม่มีอาการที่มีค่า INR สูงกว่าปกติเมื่อได้รับ warfarin(3)

เอกสารอ้างอิง

1. McEvoy GK et al. AHFS Drug Information. Bethesda : American Society of Health – System Pharmacists ;1998 : 3553
2. “Phytonadione.” In DRUGDEX? System. Thomson Healthcare. http://www.thomsonhc.com (accessed March 18, 2009.)
3. Crowther MA et al. Oral Vitamin K Lowers the International Normalized Ratio More Rapidly Than Subcutaneous Vitamin K in the Treatment of Warfarin-Associated Coagulopathy. Ann Intern Med. 2002;137:251-254.

ที่มา : http://drug.pharmacy.psu.ac.th/Question.asp?ID=11614&gid=7

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น