Rabies Immunoglobulin (RIG)

Equine Rabies Immunoglobulin (ERIG) และ Human Rabies Immunoglobulin (HRIG) เป็น RIG ที่ได้จากแหล่งที่ต่างกัน และมีขนาดการใช้ที่แตกต่างกันด้วยจ้า... 


Equine Rabies Immunoglobulin, ERIG



  • ฉีดขนาด 40 IU/kg ขนาดบรรจุ 5 มล. (1000 IU)

* ถ้าใช้ ERIG ต้องทำ Skin test ก่อนฉีด


* กรณีผลทดสอบผิวหนังให้ผลเป็นบวก ต้องเปลี่ยนไปใช้ HRIG แต่ถ้าไม่มี ควรให้ ERIG ด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษภายใต้การดูแลของแพทย์โดยเตรียม adrenaline /epinephrine, antihistamine และเครื่องช่วยหายใจไว้ให้พร้อม


* กรณีผลทดสอบผิวหนังให้ผลเป็นลบ ก็ต้องเตรียมพร้อมในการรักษาอาการแพ้แบบ anaphylaxis โดยเตรียม adrenaline/epinephrine 0.1% (1:1,000 หรือ 1มก./มล.) ผู้ใหญ่ให้ขนาด 0.5 มล.ในเด็กให้ขนาด 0.01 มล./น้ำหนักตัว 1 กก. ฉีดเข้าใต้ผิวหนังหรือเข้ากล้ามเนื้อ และต้องให้ผู้ป่วยรอเพื่อเฝ้าระวังอาการแพ้อย่างน้อย 1 ชั่วโมงหลังฉีดอิมมูโนโกลบุลิน อาการแพ้ ERIG ที่พบ มักเป็นเพียงรอยแดง คัน ลมพิษ หรือปวดข้อเท่านั้น


Human Rabies Immunoglobulin, HRIG



  • ฉีดขนาด 20 IU/kgขนาดบรรจุ 2 มล. (300 IU) และ 5 มล. ( 750 IU)
ตัวอย่าง ผู้ป่วยหนัก 120 kg จะต้องใช้ HRIG = 20 IU/kg x 120 Kg = 2400 IU อาจเลือกใช้เป็น ขนาดบรรจุ 2 ml (300 IU) 8 ขวด เป็นต้น

*** การให้ RIG ไม่ควรให้ขนาดสูงกว่าขนาดที่แนะนำ เช่น ในกรณีผู้ป่วยหนัก 120 kg ขนาด ERIG= 40 IU/kg x 120 kg = 4800 IU ก็ไม่ควรให้มากกว่า 4800 IU หรือถ้า HRIG ก็ไม่ควรให้ขนาดมากกว่า 2400 IU เพราะจะไปกดการสร้างภูมิคุ้มกันจาก Rabies Vaccine และฉีดบริเวณรอบๆ แผลเพื่อลบล้างฤทธิ์ (Neutralize) เชื้อ rabies virus ที่ตกค้างบริเวณบาดแผลหรือรอบบาดแผล (เนื่องจากผลการศึกษาในสัตว์ทดลอง พบว่า เชื้อเพิ่มจำนวนครั้งแรกที่กล้ามเนื้อบริเวณที่เชื้อเข้าสู่ร่างกาย ดังนั้น การฉีด RIG รอบแผล จะยับยั้งและทำลายเชื้อ rabies virus บริเวณบาดแผลได้ ) หากมีบาดแผลหลายแผลหรือบาดแผลกว้างมาก ปริมาณ RIG ที่คำนวณได้มีจำกัด อาจไม่เพียงพอจะฉีดทุกแผล แนะนำให้เจือจางกับ NSSประมาณ 2-3 เท่าของปริมาณ RIG เพื่อให้ฉีดได้ครบทุกแผล

เอกสารอ้างอิง



1. Thomson Micromedex. Rabies Immune Globulin ;[16 screens]. Available at: URL:http://www.micromedex.com/. Accessed September 9, 2007.


2. CDC. Human rabies prevention - United States, 1999. Recommendations of the Advisory Committee on Immunization Practices (ACIP). MMWR 1999; 48:1-27.


3. ศูนย์ข้อมูลชีวะวัตถุ กองชีววัตถุ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. Rabies Immunoglobulin. ;[4 screens]. Available at: URL:


(อ้างอิงข้อมูลจาก http://webdb.dmsc.moph.go.th/ifc_bio/Gen_Know/detail_news.asp?num=132. Accessed September 9, 2007.)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น